Saturday, April 25, 2015

Practice example 5.1 - 5.25

Example 5.1 - 5.25

ex. 5.1

คำสั่ง plot(x,y) เป็นการพล็อตกราฟโดยใช้ข้อมูลจาก x แทนในแกน x และ y แทนในแกน y

ex. 5.2
การพล็อตกราฟโดยการกำหนดรูปแบบเส้นของกราฟ


ex. 5.3
การกำหนดสีของเส้นกราฟ โดยเติมอักษร r หลังรูปแบบเส้นกราฟ จะได้เส้นกราฟสีแดง


ex. 5.4
การกำหนดสีของเส้น และกำหนดจุดของกราฟ โดยใช้คำสั่ง g:d


ex. 5.5
เราสามารถกำหนดขนาดความหนาของเส้นกราฟด้วย 'linewidth' ตามด้วยขนาด
และขนาดของจุดด้วย 'markersize' ตามด้วยขนาด


ex. 5.6
การกำหนดค่าแบบซับซ้อน ยิ่งค่าละเอียดมากเท่าใด กราฟจะยิ่งมีความโค้ง


ex. 5.7
หากความห่างระหว่างข้อมูลมีมากขึ้น กราฟที่ได้จะมีลักษณะหยักมากขึ้น


ex. 5.8
fplot('function','limits','line specifiers')
ลักษณะการใช้งานคำสั่ง fplot โดยประกอบด้วยฟังก์ชัน ลิมิตที่ต้องการแสดง และตัวกำหนดลักษณะของเส้น


ex. 5.9
การพล็อตกราฟหลายเส้นพร้อมกันทำได้โดยการพิมพ์ข้อมูลที่จะใช้พล็อตกราฟตามด้วยตัวกำหนดลักษณะ พิมพ์ต่อๆกันจะได้ดังภาพข้างบน


ex. 5.10
เมื่อพล็อตกราฟแรกเสร็จ ใช้คำสั่ง hold on เพื่อคงค่าของตัวแปรต่างๆไว้ จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 เส้นใช้ข้อมูลของ x หากไม่ใช้คำสั่ง hold on ค่าของ x จะถูกรีเซ็ตและต้องกำหนดใหม่ ใช้คำสั่ง hold off เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ


ex. 5.11
คำสั่ง plot จะเริ่มการพล็อตใหม่ทุกครั้งที่ถูกเรียกใช้ ในขณะที่คำสั่ง line เป็นการเพิ่มเส้นเข้าไปบนพล็อตที่มีอยู่แล้ว


ex. 5.12
คำสั่ง xlabel, ylabel เป็นการกำหนดชื่อของแกน x และ แกน y ตามลำดับ
คำสั่ง title ใช้กำหนดรูปแบบ ขนาด สี ข้อความของ title ของกราฟ
คำสั่ง axis ใช้กำหนดขอบเขตข้อมูลที่จะแสดงในกราฟ
คำสั่ง text แสดงข้อความบนกราฟ
คำสั่ง legend ใช้กำหนดข้อความอธิบายเส้นต่างๆของกราฟ


ex. 5.13
จากรูปข้างบนเราจะเห็นความแตกต่างของคำสั่งพล็อตกราฟแบบต่างๆ
ตั้งแต่คำสั่ง plot, semilogy, semilogx และ loglog



ex. 5.14
คำสั่ง errorbar(x,y,e) ใช้เพื่อพล็อต error bar ที่แสดงกราฟและความคลาดเคลื่อนที่จุดใดๆ
โดยจะพล็อตกราฟระหว่าง x กับ y และ e เป็นเวคเตอร์ที่เก็บค่าความคลาดเคลื่อนในแต่ละจุด จะต้องมีจำนวนสมาชิกเท่ากับ x และ y  


ex. 5.15
ภาพบนเป็นการสร้างแผนภูมิแท่งโดยใช้คำสั่ง bar สามารถกำหนดสีได้
ส่วนคำสั่ง barh เป็นการสร้างแผนภูมิแท่งแบบแนวนอน


ex. 5.16
คำสั่ง stairs เป็นการกำหนดกราฟแบบขั้นบันได
คำสั่ง stem เป็นการกำหนดกราฟแบบมาร์คจุดพร้อมลากเส้นลงมาหาแต่ละค่าในแกน x


ex. 5.17
คำสั่ง pie(x) เป็นการกำหนดกราฟแบบ pie ซึ่งจะนำค่าใน x มาคำนวณแบ่งเป็นเปอร์เซนต์
ยิ่งค่ามาก เปอร์เซ็นต์ยิ่งมาก พื้นที่ก็จะใหญ่กว่า


ex. 5.18
คำสั่ง hist(y) เป็นการพล็อตกราฟแบบฮิสโทแกรม


ex. 5.19
คำสั่ง hist(y,3) เป็นการพล็อตกราฟฮิสโทแกรมโดยแบ่งช่วงของข้อมูลออกเป็น 3 ช่วง
ยิ่งมีข้อมูลข่วงใดมาก กราฟช่วงนั้นก็จะยิ่งสูง


ex. 5.20
คำสั่ง hist(y,x) เป็นการพล็อตกราฟฮิสโทแกรมโดยกำหนดขนาดความกว้างของแท่งกราฟ ในตัวอย่างจะเห็นว่า x = 45 55 65 75 85 95 ซึ่งแต่ละค่ามีค่าต่างกัน 10 แท่งกราฟแต่ละแท่งจะมีความกว้างเป็น 10


ex. 5.21
จากตัวอย่างนี้จะได้ค่า n เป็นจำนวนข้อมูลในแต่ละช่วงในเวคเตอร์ y


ex. 5.22
จากตัวอย่างนี้ xout จะมีค่าแทนตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางของแท่งกราฟแต่ละแท่ง


ex. 5.23
คำสั่ง polar(x,y,'line specifier') เป็นการพล็อตฟังก์ชันในระบบพิกัดเชิงขั้ว
โดยให้ x แทนเวคเตอร์ที่เก็บค่าของมุม (θ)
และ y แทนเวคเตอร์ที่เก็บค่าของระยะทาง (radius)


ex. 5.24
คำสั่ง figure เป็นการพล็อตกราฟแบบแยกหน้าต่างกัน
สามารถใช้คำสั่ง close เพื่อปิดหน้าต่างที่แสดงกราฟที่กำลังคลิกดูอยู่ (active)
คำสั่ง close all เพื่อปิดหน้าต่างทั้งหมด
และคำสั่ง close(n) เพื่อปิดหน้าต่างที่ n

ex. 5.25
เป็นการใช้คำสั่ง figure(n) แบบกำหนดลำดับของหน้าต่าง

No comments:

Post a Comment