Saturday, April 25, 2015

Practice example 5.1 - 5.25

Example 5.1 - 5.25

ex. 5.1

คำสั่ง plot(x,y) เป็นการพล็อตกราฟโดยใช้ข้อมูลจาก x แทนในแกน x และ y แทนในแกน y

ex. 5.2
การพล็อตกราฟโดยการกำหนดรูปแบบเส้นของกราฟ


ex. 5.3
การกำหนดสีของเส้นกราฟ โดยเติมอักษร r หลังรูปแบบเส้นกราฟ จะได้เส้นกราฟสีแดง


ex. 5.4
การกำหนดสีของเส้น และกำหนดจุดของกราฟ โดยใช้คำสั่ง g:d


ex. 5.5
เราสามารถกำหนดขนาดความหนาของเส้นกราฟด้วย 'linewidth' ตามด้วยขนาด
และขนาดของจุดด้วย 'markersize' ตามด้วยขนาด


ex. 5.6
การกำหนดค่าแบบซับซ้อน ยิ่งค่าละเอียดมากเท่าใด กราฟจะยิ่งมีความโค้ง


ex. 5.7
หากความห่างระหว่างข้อมูลมีมากขึ้น กราฟที่ได้จะมีลักษณะหยักมากขึ้น


ex. 5.8
fplot('function','limits','line specifiers')
ลักษณะการใช้งานคำสั่ง fplot โดยประกอบด้วยฟังก์ชัน ลิมิตที่ต้องการแสดง และตัวกำหนดลักษณะของเส้น


ex. 5.9
การพล็อตกราฟหลายเส้นพร้อมกันทำได้โดยการพิมพ์ข้อมูลที่จะใช้พล็อตกราฟตามด้วยตัวกำหนดลักษณะ พิมพ์ต่อๆกันจะได้ดังภาพข้างบน


ex. 5.10
เมื่อพล็อตกราฟแรกเสร็จ ใช้คำสั่ง hold on เพื่อคงค่าของตัวแปรต่างๆไว้ จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 เส้นใช้ข้อมูลของ x หากไม่ใช้คำสั่ง hold on ค่าของ x จะถูกรีเซ็ตและต้องกำหนดใหม่ ใช้คำสั่ง hold off เพื่อเสร็จสิ้นกระบวนการ


ex. 5.11
คำสั่ง plot จะเริ่มการพล็อตใหม่ทุกครั้งที่ถูกเรียกใช้ ในขณะที่คำสั่ง line เป็นการเพิ่มเส้นเข้าไปบนพล็อตที่มีอยู่แล้ว


ex. 5.12
คำสั่ง xlabel, ylabel เป็นการกำหนดชื่อของแกน x และ แกน y ตามลำดับ
คำสั่ง title ใช้กำหนดรูปแบบ ขนาด สี ข้อความของ title ของกราฟ
คำสั่ง axis ใช้กำหนดขอบเขตข้อมูลที่จะแสดงในกราฟ
คำสั่ง text แสดงข้อความบนกราฟ
คำสั่ง legend ใช้กำหนดข้อความอธิบายเส้นต่างๆของกราฟ


ex. 5.13
จากรูปข้างบนเราจะเห็นความแตกต่างของคำสั่งพล็อตกราฟแบบต่างๆ
ตั้งแต่คำสั่ง plot, semilogy, semilogx และ loglog



ex. 5.14
คำสั่ง errorbar(x,y,e) ใช้เพื่อพล็อต error bar ที่แสดงกราฟและความคลาดเคลื่อนที่จุดใดๆ
โดยจะพล็อตกราฟระหว่าง x กับ y และ e เป็นเวคเตอร์ที่เก็บค่าความคลาดเคลื่อนในแต่ละจุด จะต้องมีจำนวนสมาชิกเท่ากับ x และ y  


ex. 5.15
ภาพบนเป็นการสร้างแผนภูมิแท่งโดยใช้คำสั่ง bar สามารถกำหนดสีได้
ส่วนคำสั่ง barh เป็นการสร้างแผนภูมิแท่งแบบแนวนอน


ex. 5.16
คำสั่ง stairs เป็นการกำหนดกราฟแบบขั้นบันได
คำสั่ง stem เป็นการกำหนดกราฟแบบมาร์คจุดพร้อมลากเส้นลงมาหาแต่ละค่าในแกน x


ex. 5.17
คำสั่ง pie(x) เป็นการกำหนดกราฟแบบ pie ซึ่งจะนำค่าใน x มาคำนวณแบ่งเป็นเปอร์เซนต์
ยิ่งค่ามาก เปอร์เซ็นต์ยิ่งมาก พื้นที่ก็จะใหญ่กว่า


ex. 5.18
คำสั่ง hist(y) เป็นการพล็อตกราฟแบบฮิสโทแกรม


ex. 5.19
คำสั่ง hist(y,3) เป็นการพล็อตกราฟฮิสโทแกรมโดยแบ่งช่วงของข้อมูลออกเป็น 3 ช่วง
ยิ่งมีข้อมูลข่วงใดมาก กราฟช่วงนั้นก็จะยิ่งสูง


ex. 5.20
คำสั่ง hist(y,x) เป็นการพล็อตกราฟฮิสโทแกรมโดยกำหนดขนาดความกว้างของแท่งกราฟ ในตัวอย่างจะเห็นว่า x = 45 55 65 75 85 95 ซึ่งแต่ละค่ามีค่าต่างกัน 10 แท่งกราฟแต่ละแท่งจะมีความกว้างเป็น 10


ex. 5.21
จากตัวอย่างนี้จะได้ค่า n เป็นจำนวนข้อมูลในแต่ละช่วงในเวคเตอร์ y


ex. 5.22
จากตัวอย่างนี้ xout จะมีค่าแทนตำแหน่งที่อยู่กึ่งกลางของแท่งกราฟแต่ละแท่ง


ex. 5.23
คำสั่ง polar(x,y,'line specifier') เป็นการพล็อตฟังก์ชันในระบบพิกัดเชิงขั้ว
โดยให้ x แทนเวคเตอร์ที่เก็บค่าของมุม (θ)
และ y แทนเวคเตอร์ที่เก็บค่าของระยะทาง (radius)


ex. 5.24
คำสั่ง figure เป็นการพล็อตกราฟแบบแยกหน้าต่างกัน
สามารถใช้คำสั่ง close เพื่อปิดหน้าต่างที่แสดงกราฟที่กำลังคลิกดูอยู่ (active)
คำสั่ง close all เพื่อปิดหน้าต่างทั้งหมด
และคำสั่ง close(n) เพื่อปิดหน้าต่างที่ n

ex. 5.25
เป็นการใช้คำสั่ง figure(n) แบบกำหนดลำดับของหน้าต่าง

Friday, April 24, 2015

Problem 4.1-4.2 (Chapter 4)

Problem 4.1



เขียนคำสั่งลงใน Script file > เซฟ > รัน
แสดงข้อความตามโจทย์ โดยส่วนที่เป็นตัวอักษรใช้คำสั่ง disp() และคำนวณหาค่า Tw จากสูตร
Tw = 35.74 + 0.6215*T- 35.75*v^0.16 + 0.4275*T*v^0.16 โดย v แทนความเร็ว และ T แทนอุณหภูมิ
ใช้คำสั่ง disp() ตามด้วยชื่อตัวแปรในวงเล็บเพื่อแสดงค่าที่เก็บในตัวแปร
เมื่อกดรันจะได้ผลลัพธ์ตามรูปข้างล่าง

Problem 4.2

(1)

(2)

เริ่มเขียนคำสั่งใน Script file กำหนดค่าให้ตัวแปร สร้างอาเรย์ ให้เก็บค่าของทั้งสองจากนั้น
ใช้คำสั่ง fopen() ตามด้วยชื่อไฟล์ .txt ที่เราจะสร้างตามด้วย 'w'
ใช้คำสั่ง fprintf เพื่อเขียนข้อความตามที่โจทย์กำหนดลงในไฟล์ txt ที่เราสร้างขึ้น
เมื่อแสดงเสร็จ ทำการปิดไฟล์ด้วยคำสั่ง fclose

เมื่อ Run Script file แล้วเราจะได้ไฟล์ .txt มาสองไฟล์ เก็บอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกับ Script file ที่เราเขียน
เมื่อเปิดไฟล์ .txt ทั้งสองในโปรแกรม MS Word หรือคล้ายกัน จะได้ผลลัพธ์ดังรูปข้างบน

Monday, April 20, 2015

Practice example 4.1 - 4.18

Example 4.1 - 4.18

ex. 4.1

คำสั่ง who แสดงตัวแปรที่ประกาศไว้ทั้งหมด
คำสั่ง whos แสดงตัวแปรและค่าของตัวแปรพร้อมรายละเอียด ขนาด ชนิดของค่านั้น


ex.4.2


ภาพบนเป็นการเขียนโค้ดใน Script file เมื่อรันจะได้ผลลัพธ์ออกมาแสดงใน Command Window ตามภาพล่าง

ex. 4.3

ภาพบนเป็นการเขียนไว้เพียงขั้นตอนการทำงาน ส่วนภาพล่างเป็นการ assign ค่าเข้าไปทีหลังใน Command Window เพื่อใช้ในการคำนวณตามโค้ดที่เขียนไว้ใน Script file

ex. 4.4

เมื่อรันโปรแกรมจะมาข้อความตามด้านบนพร้อมให้เรา assign ค่าเข้าไปใน Command Window และทำเช่นเดียวกันในตัวแปรถัดไป


ex. 4.5

คำสั่ง disp() ใช้แสดงค่าของสิ่งที่อยู่ภายใจวงเล็บ

ex. 4.6

ตัวอย่างการใช้คำสั่ง disp() โดยสามารถใส่ ' ' ในวงเล็บเพื่อเป็นการเว้นบรรทัด

ex. 4.7

ตัวอย่างการแสดงตารางโดยใช้คำสั่ง disp()
ex. 4.8


คำสั่ง fprintf() เป็นการแสดงข้อความภายในวงเล็บ
การใส่ \n เข้าไปภาพใน " " เป็นการให้เริ่มขึ้นบรรทัดใหม่นัดตั้งแต่ข้อความที่อยู่หลัง \n

ex. 4.9

หากไม่มีการใช้ \n แม้ว่าข้อความจะมาจากคำสั่ง fprintf คนละคำสั่ง แต่ข้อความที่สองจะต่อจากข้อความแรกเสมอ

ex. 4.10

การใช้ %f ในข้อความเป็นการกำหนดตำแหน่งและชนิดของค่าที่จะแสดง ณ ตำแหน่งนั้น โดยแสดงเป็นเลขทศนิยม เมื่อสิ้นสุดข้อความจะตามด้วย , และชื่อตัวแปร

ex. 4.11

%3.2f หมายถึง แสดงตัวเลขจำนวนเต็ม 3 ตำแหน่ง และเลขทศนิยม 2 ตำแหน่ง
%g แสดงค่าของตัวแปร

ex. 4.12

การใช้คำสั่ง fprintf กับเมทริกซ์ โดยจะเป็นการแสดงข้อความทีละคอลัมน์

ex. 4.13

ใน Script file มีคำสั่งให้สร้างไฟล์ txt ชื่อ VmptoVkm.txt และ F1btoFN.txt การใช้คำสั่ง fopen เพื่อเปิดไฟล์นั้น มีคำสั่งให้เขียนข้อความไว้ในไฟล์ txt จากนั้นมีการใช้คำสั่ง fclose เพื่อเปิดไฟล์ โดยไฟล์ txt ที่ได้จะอยู่ในโฟลเดอร์เดียวกับ Script file

ex. 4.14

คำสั่ง save เป็นการเซฟไฟล์ นามสกุล ascii ชื่อ DatSavAsci ที่เก็บค่าของตัวแปรไว้ สามารถเปิดอ่านได้ด้วยโปรแกรมใดๆที่อ่านไฟล์นามสกุล ascii ได้

ex. 4.15

เป็นการ load ไฟล์ txt เพื่อนำค่ามาใช้ในโปรแกรม MATLAB

ex. 4.16

คำสั่ง xlsread() เป็นการนำข้อมูลในไฟล์ xls นั้นมาใช้ในโปรแกรม MATLAB

ex. 4.17

การนำข้อมูลภายนอกมาใช้ในโปรแกรม MATLAB สามารถทำได้อีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Import Data ที่อยู่ใน Workspace เพื่อเลือกไฟล์และทำการเซ็ตค่าต่างๆ

ex. 4.18

เป็นการใช้คำสั่ง disp() เพื่อแสดงข้อมูลเป็นตาราง